พระนางซูสีไทเฮา สตรีในราชสำนักจีน ที่ทรงอิทธิพลที่สุดของจีนในยุคหลัง

พระนางซูสีไทเฮา

พระนางซูสีไทเฮา ประวัติบุคลสำคัญในหน้าหนึ่งประวัติศาสตร์โลก ที่ทุกการกระทำของพระนางสร้างผลกระทบต่อประเทศจีนในยุคนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการว่าราชการเบื้องหลังจักรพรรดิ 3 พระองค์และแต่งตั้งจักรพรรดิองค์สุดท้ายการสวรรคตเพียง 1 วัน ซูสีไทเฮา เกิดเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 1835 ในสกุลเย่เฮ่อน่าลา ตระกูลขุนนางหนึ่งในแปดกองธงของราชวงศ์ชิง โดยเริ่มแรกพระนางเข้ามาเป็นสนมระดับล่างของจักรพรรดิเสียนเฟิง ก่อนที่จะมีพระโอรสเพียงองค์เดียวให้กับพระเจ้าเสียนเฟิง จึงได้มีหน้ามีตาและมีอำนาจ

พระนางซูสีไทเฮา

จนในช่วงปลายรัชสมัยของจักรพรรดิเสียนเฟิงเกิดกบฏและมีคนเข้าร่วมมากที่สุดในประวัติศาสตร์จีน นั่นคือกบฏไท่ผิงเทียนกั๋ว นำโดย หงซิ่วฉวน ที่แอบอ้างตนเองเป็นน้องชายพระเยซู ลุกขึ้นมานำคนต่อต้านราชวงศ์ชิง พร้อมกับแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ให้ผู้คนเข้าร่วม คาดว่ามีคนเข้าร่วมกับการกบฏต่อต้านราชวงศ์ชิงนี้กว่า 30 ล้านคน แต่ต่อมาเกิดการชิงอำนาจกันภายในกลุ่มกบฏ ประกอบกับการนำกำลังปราบกบฏของราชวงศ์ชิง ซึ่งบัญชาการหลังม่านโดยพระนางซูสีไทเฮา จึงทำให้ราชวงศ์ชิงชนะยึดอำนาจกลับมาได้ แต่กบฏครั้งนี้คาดว่ามีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 30 ล้านคน

จักรพรรดิเสียนเฟิง นอกจากกบฏไท่ผิงเทียนกั๋ว ในสมัยจักรพรรดิเสียนเฟิงยังเกิดสงครามระหว่างจีนอังกฤษทั้งหมด 2 ครั้ง และจีนเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ทั้งสองครั้ง จนเสียพื้นที่ในฮ่องกง เซี่ยงไฮ้ รวมทั้งพระราชวังฤดูร้อนซึ่งเป็นที่พักร้อนของจักรพรรดิและพระราชวงศ์ถูกทำลายหมดสิ้น มูลเหตุของสงครามฝิ่นเกิดจากการปราบปรามฝิ่นอย่างเด็ดขาดของราชวงศ์ชิง แต่ฝิ่นเป็นสินค้าหลักของจักรวรรดิอังกฤษ เมื่อพระเจ้าเสียนเฟิงสวรรคตในปี 1861 พระโอรสของพระนางก็ขึ้นครองราชน์เป็นจักรพรรดิพระนามว่าถงจื้อ ในวัย 6 ชันษา และมีคณะองคมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทน

จักรพรรดิถงจื้อ ในปีเดียวกันนั้นเอง พระนางร่วมกับองค์ชายกงชินหวังพระอนุชาในจักรพรรดิเสียนเฟิง และ พระนางซูอันไทเฮา พระมเหสีของอดีตจักรพรรดิเสียนเฟิง ร่วมกันยึดอำนาจจากคณะผู้สำเร็จราชการ พระนางซูสีไทเฮาและซูอันไทเฮา จึงกลายมาเป็นผู้สำเร็จราชการแทน แต่จักรพรรดิถงจื้อนั้นอายุสั้นจากร่างกายที่อ่อนแอ ครองราชน์ได้เพียง 14 ปี ก็สวรรคตด้วยอายุ 20 ชันษา พระนางซูสีไทเฮาจึงนำพระนัดดาของพระองค์มารับเป็นลูกบุญธรรม และแต่งตั้งให้เป็นจักรพรรดินามกวังซี่ ในปี 1875

จักรพรรดิกวังซี่ สถานการณ์โลกในตอนนั้น จักรวรรดินิยมเริ่มขยายมาในเอเชีย เริ่มด้วยการจักรวรรดิบริติชอังกฤษ ยึดครองพม่าในปี 1824 และอินเดียผ่านบริษัท บริติชอีทอินเดียคอมพานี และสุดท้ายรัฐบาลอังกฤษ ก็เข้าไปยึดครองเองในปี 1858

จักรพรรดิกวังซี่ นับว่าเป็นจักรพรรดิที่สายพระเนตรยาวไกล พระองค์มองเห็นถึงภัยคุกคามจากประเทศจักรวรรดินิยม ทั้งบริติชอังกฤษ ฝรั่งเศส และเพื่อนบ้านที่กำลังเติบโตมาคุกคามอย่างจักรวรรดิญี่ปุ่น รวมทั้งการกบฏไท่ผิงเทียนกั๋วที่ผ่านมา ทำให้พระองค์เริ่มแนวคิดการปฎิรูป พระองค์ทรงริเริ่มการปฏิรูป การเมือง สังคมและกฎหมาย พระจักรพรรดิทรงออกพระบรมราชโองการหลายฉบับ ในการปฏิรูปครั้งใหญ่นี้ โดยมีขุนนางหลักที่คอยช่วยเหลือ กิจการในครั้งนี้ ศิลปะบนนาข้าว ของพระองค์ของคนคือข้าราชการรุ่นใหม่อย่าง คัง โหย่วเหวย และเหลียง ฉี่เชา โดยการเปลี่ยนแปลงนี้ มีการเปลี่ยนแปลงประเทศ จากเกษตรกรรมไปเป็นอุตสาหกรรม และมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการสอบรับราชการ โดยพระองค์ทรงออกพระราชกฤษฎีกาในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ทันสมัยในขณะนั้นของจีน มีการก่อสร้างทางรถไฟลู่หาน และระบบท้องพระคลังให้มีระบบเช่นเดียวกับทางตะวันตก โดยมีเป้าหมายทำให้จีนเป็นประเทศที่ทันสมัย มีพระมหาจักรพรรดิภายใต้รัฐธรรมนูญแต่ยังคงความเป็นจีนเอาไว้อยู่ โดยมีต้นแบบคือการปฏิรูปเมจิของญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม สภาพสังคมจีนในขณะนั้น ยังเป็นแบบนับถือลัทธิขงจื้ออยู่และการปฏิรูปครั้งนี้ยังมีความขัดแย้งไปถึงพระนางซูสีไทเฮาด้วย ผู้ซึ่งว่าราชการหลังม่าน อยู่ในขณะนั้น สุดท้ายพระนางซูสีไทเฮาก็ยึดอำนาจจักรพรรดิกวังซี่ พร้อมเนรเทศพระองค์ไปตำหนักกลางน้ำในวังต้องห้าม และพระองค์ใช้ชีวิตอยู่ที่นี่จนสวรรคต คนทั่วไปรู้จักการปฎิรูปในครั้งนี้ว่า “การปฏิรูป 100 วัน”

หลังจากจำกัดพระอำนาจของจักพรรดิกวังซี่แล้ว พระนางว่าราชการแทนพระองค์ เกิดเหตุการณ์สำคัญเช่นการที่พระนางสนับสนุนกลุ่มกบฏนักมวย กลุ่มกบฏชาตินิยม ที่คอยทำร้ายชาวต่างชาติที่อยู่ในเมืองจีน ทำให้กลุ่มพันธมิตร ประกอบด้วยอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น ออสเตรีย รัสเซีย อิตาลี และสหรัฐฯ นำกองกำลังผสมบุกเข้าปล้นสะดมทั้งกรุงปักกิ่งและวังต้องห้าม ได้วัตถุโบราณออกไปมากมายจนปัจจุบันและสุดท้ายพระนางต้องประกาศจับกบฏนักมวยและประหารทั้งหมด

กลุ่มพันธมิตรแปดชาติ ถ่ายรูปร่วมกัยภายในพระราชวังต้องห้าม เมื่อพ่ายแพ้แก่พันธมิตร 8 ชาติ พระนางจึงหันมาเป็นมิตรกับชาวต่างชาติมากขึ้นโดยโอนอ่นผ่อนตาม และเริ่มปฏิรูปนโยบายเพื่อนำประเทศ ไปสู่ระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ก่อนจะทำสำเร็จพระนางก็สิ้นพระชนน์เสียก่อน ในวันที่ 15 พฤศจิกายน ปี 1908 หลังการสิ้นพระชนน์ของ จักรพรรดิกวังซี่เพียง 1 วัน และมีเรื่องเล่ากันว่า การสิ้นพระชนน์ของจักรพพรดิกวังซี่นั้น มีเงื่อนงำ slotxo ฟรีเครดิต ก่อนจะสิ้นพระชนน์ พระนางซูสีไทเฮาได้แต่งตั้งจักรพรรดิอีกพระองค์หนึ่ง นั่นคือจักรพรรดิผู๋อี๋ หรือ ปูยี จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีนก่อนพระนางเสียชีวิตเพียงไม่กี่ชั่วโมง โดยจักรพรรดิปูยีเป็นหลานของพระนางเอง

จักรพรรดิปูยี พระนางซูสีไทเฮา นับว่าเป็นสตรีที่ทรงอำนาจ มากที่สุดของจีน โดยไม่ต้องตั้งตัวเองเป็นจักรพรรดินี แบบจักรพรรดิบูเช็คเทียน แต่ว่าราชการ หลังบ้านจักรพรรดิสามคน และแต่งตั้งอีก 1 คน มีการกล่าวกันว่าการปกครองของพระนางเป็นการเร่งให้ราชวงศ์ชิงล่มสลายเร็วขึ้น จากการไม่พยายามปฏิรูปใด ๆ และยังขวางการปฏิรูป 100 วันของจักรพรรดิกวังซี่อีกด้วย เมื่อคิดจะปฏิรูปก็สายไปเสียแล้ว แต่ที่ไม่ลืมไม่ได้เลยว่าการที่พระนางถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุให้ราชวงศ์ชิงสูญสิ้นนั้น เป็นผลงานของฝ่ายปฏิรูป และฝ่ายปฏิวัติที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระนาง เป็นการกล่าวโทษ พระนางในปัญหาที่เรื้อรั้ง มายาวนานนับร้อย ๆ ปี ของราชวงศ์ชิง นอกจากนั้น พระนางยังพยายามปกป้องประเทศ จากความวุ่นวายทางการเมือง นอกจากนี้ พระนางยังเป็นนักปฏิรูป ที่มีประสิทธิภาพสำหรับการปฏิรูป ที่ทรงริเริ่มในช่วงบั้นปลายพระชนม์แต่เวลาก็ไม่พอเสียก่อน

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *