ศิลปะบนนาข้าว ที่จังหวัด เชียงราย ทำให้ ทั่วโลกให้ความสนใจ

ศิลปะบนนาข้าว

ศิลปะบนนาข้าว ศิลปะบนนาข้าว อ.เทิง เริ่มเปลี่ยนสี เตรียมเปิดเป็นทางการ ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ด้านสำนักข่าวต่างประเทศ ให้ความสนใจนำเสนอข่าวทั่วโลก วันที่ 21 ธ.ค. 66 จากกรณีที่ผู้สื่อข่าว ได้นำเสนอ

ความสวยงาม ของศิลปะบนนาข้าว หรือ Tanbo Art ภายใต้แนวคิด “ในน้ำมีปลา ในนามีแมว” ซึ่งตั้งอยู่ที่ “เกี้ยวตะวัน ธัญฟาร์ม” บ้านขอนซุง ม.4 ต.งิ้ว อ.เทิง จ.เชียงราย จนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ทั้งชาวไทย

และต่างประเทศให้ความสนใจ แม้จะยังไม่ได้เปิดให้ชม อย่างเป็นทางการ แต่ก็มีผู้คนแวะเวียนเข้า ไปชมอย่างไม่ขาดสาย และมีหน่วยงานต่างๆ ให้ความสนใจ มาทำกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ และล่าสุดสื่อต่างประเทศชื่อดัง

อย่าง “รอยเตอร์ส (Reuters)” สำนักข่าวชื่อดังของประเทศอังกฤษ WBET888 ก็ได้ให้ความสนใจในงานศิลปะดังกล่าว และเข้ามาสัมภาษณ์นายธันยพงศ์ ใจคำ เจ้าของฟาร์ม ถึงแนวคิดริเริ่มในการทำ ตลอดจนขั้นตอน

การสร้างสรรค์ แปลงนาข้าว และได้นำภาพความสวยงามของงานศิลปะบนนาข้าวฝีมือคนไทยให้เป็นที่รู้จักของผู้คนทั่วโลก ฝนดาวตก โดยนำเสนอข่าวผ่านสื่อในเครือข่าย ได้แก่ ABC News, South China Morning

Post, U.S. News, NBC News, CNN-CH18, 7NEWS Australia, Yahoo News, Zee News English, Bangkok Post, NST Online สำหรับศิลปะบนนาข้าวของ “เกี้ยวตะวัน ธัญฟาร์ม” ล่าสุดเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง

ของเฉดสี ของข้าว 7 สายพันธุ์ ออกมาให้เห็นบ้างแล้ว แต่ช่วงที่ต้นข้าวจะแสดงสีสันสวยงาม จะอยู่ในช่วงประมาณปลายเดือน ธ.ค. และจะมีกำหนดให้ เที่ยวชมอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 ธ.ค. ที่จะถึงนี้ โดยจะมีนายนักปราชญ์ อุทธโยธา ศิลปินผู้ออกแบบภาพ มาร่วมแบ่งปันแรงบันดาลใจ และยังมีแขกคนสำคัญอีกมากมาย นักท่องเที่ยว ที่อยากจะไปโต้ลมหนาว แปลงนาข้าว ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ต้องไม่พลาดงานศิลปะบนนาข้าว หนึ่งในผลงานศิลปะในมหกรรมไทยแลนด์เบียนนาเล่ 2023 ที่บ้านขอนซุง ม.4 ต.งิ้ว อ.เทิง จ.เชียงราย

นายธันย์พงค์ ใจคำ หรือ ดิว ผู้จัดการหนุ่มในโรงงานผลิตรถยนต์ ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานศิลปะบนนาข้าว กล่าวว่า ตัวเองเกิดและเติบโตที่บ้านขอนซุง ต.งิ้ว อ.เทิง ครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ทำนา ตนมีความผูกพันกับท้องไร่ท้องนามาตั้งแต่เด็ก รู้ซึ้งถึงคุณค่าของเม็ดข้าว และสนใจการปลูกข้าวมาโดยตลอด และในช่วงประมาณ 5-6 ปีที่ผ่านก็มีโอกาสได้ศึกษาว่าที่ประเทศญี่ปุ่นมีการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะบนนาข้าว หรือ “Tanbo Art” ตนเห็นแล้วก็คิดว่ามันแปลกดี และหากมีโอกาสก็อยากจะลองทำบ้าง แต่ที่ญี่ปุ่นทำมานานนับ 10 ปี จนสามารถพัฒนาสายพันธุ์ข้าวที่มีความหลากหลายของเฉดสี และมีชื่อเสียงจนสามารถจัดเป็นงานเทศกาลประจำปี มีนักท่องเที่ยวให้ความสนใจไปเที่ยวปีละหลายแสนคน

ผู้ริเริ่มสร้างสรรค์ผลงานศิลปะบนนาข้าว กล่าวต่อว่า แต่งานของไทยเรายังไม่สามารถพัฒนาไปถึงขั้นนั้น นาข้าว การ์ตูน แต่จากการตระเวนศึกษาในหลายไปที่ของประเทศไทย ก็พบมีหลายจังหวัดที่มีการปลูกข้าวกันแบบนี้ แต่ยังมีสีของต้นข้าวน้อย อย่างมากไม่เกิน 3 สี แต่ในปีนี้ทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ได้พัฒนาสายพันธุ์ข้าวเจ้า โดยนำเอาข้าวเจ้าหอมนิลพันธุ์กลายใบขาว มาผสมกับข้าวก่ำหอมนิล จนได้มาเป็นข้าวสรรพสี สายพันธ์ุ RB01, RB02, RB03, RB04, และ RB05 ซึ่งแต่ละสายพันธุ์จะมีเฉดสีแตกต่างกันออกไป และได้ริเริ่มรับสมัครเกษตรกรให้เข้าร่วมสร้างสรรค์ศิลปะบนนาข้าว โดยใช้ข้าวที่ทางมหาวิทยาลัยจัดสรรมาให้

นายธันย์พงค์ กล่าวอีกว่า แต่หลังจากได้เมล็ดพันธุ์มาแล้ว ก็มีอีกหลายปัญหาต้องมาขบคิด เพราะยังไม่เคยทำมาก่อน ประกอบกับเมล็ดพันธุ์ที่มหาวิทยาลัยให้มามีจำนวนจำกัด ตนจึงเข้าไปขอคำปรึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นาข้าว การ์ตูน ทั้งเกษตรอำเภอ ธนาคาร หรือหน่วยงานในระดับจังหวัด เพื่อขอความรู้และต้องการให้หน่วยงานมาร่วมสนับสนุนโครงการ แต่ปรากฏว่าไม่มีหน่วยงานไหนเข้ามาช่วยสนับสนุน อาจจะเป็นเพราะเป็นเรื่องใหม่ และยังไม่เห็นรูปร่างโครงการ จึงตัดสินใจลงมือทำด้วยตนเอง โดยเรื่องเมล็ดพันธุ์ได้ปรึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แนะนำว่าควรเพาะพันธุ์ทีละเมล็ด จากนั้นในเรื่องการออกแบบรูปภาพบนนาข้าว

“ด้วยความที่ตนไม่มีความรู้เรื่องศิลปะเลย แต่คิดว่าใน จ.เชียงราย เป็นเมืองศิลปะ มีศิลปินดังๆ อยู่มากมาย ตนจึงเดินทางไปที่วัดร่องขุ่น เพื่อตั้งใจจะไปขอคำปรึกษาจาก อ.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เพราะตอนนั้นไม่รู้จักใครเลย แต่เจ้าหน้าที่ของวัดแนะนำว่าควรจะไปที่สมาคมขัวศิลปะ ตนก็ไปตามคำแนะนำ ซึ่งทางสมาคมขัวศิลปะได้ฟังแนวคิดแล้วเกิดสนใจ โดยเสนอว่าควรจะเข้าร่วมโชว์ในงานไทยแลนด์เบียนนาเล่ 2023 ที่กำลังจะจัดขึ้นอีกด้วย

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *